ฉีดทำไม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

เผยแพร่ : 19 ต.ค. 2567 22:23:40
X
การตัดสินใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเป็นเรื่องส่วนตัวและควรทำภายใต้การแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อรับคำแนะนำเฉพาะสำหรับสถานการณ์ของคุณ
อย่างไรก็ตาม ฉันสามารถให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ IgG4 ได้:
• IgG4 เป็นชนิดหนึ่งของแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ
• ระดับ IgG4 ที่สูงขึ้น อาจบ่งบอกถึงสภาวะทางการแพทย์บางอย่าง แต่ไม่ใช่การติดเชื้อ
• การฉีดวัคซีนอาจส่งผลต่อระดับ IgG4 แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มักจะเป็นชั่วคราวและไม่เป็นอันตราย
ขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อรับคำแนะนำเฉพาะสำหรับสถานการณ์ของคุณ

ยิ่งฉีด ยิ่งทำให้ระบบป้องกันเชื้อโรคทั้งหมดรวนเร และคำประกาศเชิญชวนให้ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางต้องฉีดซ้ำอีก เป็นเรื่องที่ควรกระทำหรือไม่? 

IgG4 เป็นชนิดหนึ่งของอิมมูโนกลอบูลิน ที่มีจำนวนน้อย และถ้ามีจำนวนมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น จะทำให้ระบบต่อสู้เชื้อโรคของมนุษย์ ที่เป็นระบบนักฆ่าอ่อนแอ
 
ในเวลาที่ผ่านมาพบว่าปริมาณ IgG4 ทั้งหมด รวมทั้ง ที่เจาะจงที่ส่วนของโปรตีนหนามของวัคซีนโควิด S1 เพิ่มขึ้นจากสามถึง 4% ตามปกติ เป็น 10 เป็น 25 และมากกว่า 50 ถึง 60% หลังจากที่ฉีดไปหนึ่ง สอง และสามเข็มของ mRNA

ทั้งนี้ เป็นที่มาจากการศึกษาหลายชิ้นรวมทั้งรายงานนี้ในวารสาร BMC Immunity&Ageing14 กันยายน 2024

ทั้งนี้โดยตั้งคำถามสำคัญว่า คนที่สูงวัย อายุ มากกว่า 65 ปี จนถึง 84 ปี ที่ถูกจัดเป็นประเภทกลุ่มเปราะบาง และต้องได้วัคซีนโควิดครบ และต้องมีการฉีดกระตุ้น อยู่ตลอด
 
แท้จริงแล้ว จะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ และจะมีผลในทางลบนั่นก็คือทำให้ร่างกายต้านทานเชื้อโรคแย่ลงหรือไม่ ทั้งนี้โดยการวัดระดับของ IgG ทุกชนิด 1-4 และ IgG จำเพาะ ต่อ โควิด และจากการที่ IgG4 มีอิทธิพลต่อ ระบบนักฆ่า ทั้ง NK และ เซลล์อื่นๆที่สามารถกลืนกัดกิน ย่อย เชื้อโรค รวมระบบ complement

ผลปรากฏว่า ในกลุ่มสูงอายุขึ้นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุต่างๆตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เมื่อฉีดไปตั้งแต่เข็มที่หนึ่งจนกระทั่งหลังเข็มที่สาม ระบบป้องกันภัย innate ที่เป็นตัวสำคัญแนวหน้าป้องกันการรุกรานโดยสามารถทำงานได้ทันทีในระยะเวลา เป็นชั่วโมงและไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเชื้อไหน

ทั้งหมดของระบบดังกล่าวอ่อนแอมากกว่าก่อนฉีด และแปรตาม IgG4 ที่เพิ่มขึ้น โดย กระทบ Fc-mediated antibody effector functionality.

ข้อมูลของการศึกษานี้มีผลเช่นเดียวกับการศึกษาก่อนหน้านั้น ในคนอายุน้อย และผู้รายงานเหล่านี้สรุปในทิศทางเดียวกันว่าวัคซีนจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและไม่ด้อยค่าระบบป้องกันภัยของร่างกายโดยจะกลายเป็นภาวะเกี่ยวพันลูกโซ่ที่ทำให้ติดโรคง่ายหรือทำให้เชื้อดั้งเดิมเช่นเริม งูสวัด(คือไข้อีสุกอีใสเดิมที่หายแล้วแต่ซ่อนตัวอยู่) กลับปะทุขึ้น
อนี่ง เราได้เคยรายงานก่อนหน้านี้ ในคนที่ติดโควิดและยังไม่ได้ฉีดวัคซีนใด ในผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลทั้งหมด และมีการกระตุ้นระบบนักฆ่า complement ตั้งแต่ต้น (s C5b-9) พบว่าไม่มีผู้ใดเสียชีวิต ทั้งนี้ระบบนักฆ่า ที่ทำให้มีการอักเสบถูกที่ ถูกเวลาตั้งแต่ต้นเป็นผลดี
 
นอกจากนั้นยังมีกลไกอีกมากมายที่พิสูจน์แล้วว่าวัคซีนโควิดแม้ว่าจะปรับแต่งให้เป็นต่อสายพันธุ์ล่าสุดก็ตาม แต่ระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์กลับตอบสนองต่อต้นสายกำเนิดอู่ฮั่นทำให้ภูมิแทบจะไม่มี (hybrid immune damping) และยังทำให้ไม่เกิดมี long lived plasma cell ที่ทำให้ยังมีภูมิอยู่นาน เลยบริษัทต้องให้มนุษย์ต้องฉีดทุกสามเดือน

และเมื่อฉีดมากเข็ม ตัวโครงสร้างของวัคซีนเอง การแปลรหัสการสร้างโปรตีน การคงอยู่ในมนุษย์ได้นานกว่าตัวไวรัส จากอนุภาคนาโนไขมันเอง และมีการบงการให้สร้างสิ่งที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆเลยทำให้เกิดภาวะแปรปรวนทางระบบภูมิคุ้มกัน มากไป น้อยไป การอักเสบในตัวเซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะเฉพาะที่ เช่นในหัวใจ ตายกระทันหันเฉียบพลันในคนอายุน้อย โรคสมองเสื่อม สมองอักเสบ ภาวะแปรปรวนทางจิตอารมณ์

และรายงานการตรวจชันสูตรศพจากการ ฉีดวัคซีน ระบุขั้นตอนกลไกเหล่านี้อย่างละเอียดแล้ว
(รายงานในวารสารการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ ได้ระบุสิ่งเหล่านี้แล้ว)

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต

ที่มา : MgrOnline