บังเอิญหรือไม่! เจ้าภาพเปรูจัด “ปธน.สหรัฐฯ” ยืนมุมอับแถว 2 ติด "นายกฯ อิ๊ง" ถ่ายภาพหมู่ผู้นำ APEC “ไบเดน” ตกลงกับ “สี จิ้งผิง” AI ต้องไม่ควบคุมอาวุธนิวเคลียร์

เผยแพร่ : 17 พ.ย. 2567 22:19:16
X
• ภาพถ่ายหมู่ผู้นำ APEC แสดงให้เห็นประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยืนอยู่ข้างหลังและใกล้กับ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
• เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์
• ภาพดังกล่าวถ่ายหลังการหารือระหว่างประธานาธิบดีไบเดนและประธานาธิบดีสี จิ้งผิงของจีน
• ข้อความ "มนุษย์ต้องเป็นศูนย์กลาง" (ดูเหมือนจะมาจากเนื้อหาต้นฉบับที่หายไป) อาจเกี่ยวข้องกับประเด็นการหารือระหว่างผู้นำสหรัฐฯ และจีน แต่ไม่สามารถสรุปความหมายที่แน่นอนได้จากข้อมูลที่มี

เอเจนซีส์/MGRออไลน์ - กลายเป็นที่โจษจันเมื่อผู้นำโลกมหาอำนาจ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ยืนอยู่ในมุมอับในภาพถ่ายหมู่ผู้นำ APEC ยืนติดนายกฯ หญิงของไทย แพทองธาร ชินวัตร ในแถวที่ 2 หลังผู้นำอเมริกันหารือบรรลุกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้งผิง ชี้มนุษย์ต้องเป็นคน "ตัดสินใจ" การควบคุมอาวุธนิวเคลียร์

เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันนี้ (17 พ.ย.) ว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่กำลังจะลงจากตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้า ประชุมระดับทวิภาคีร่วมกับประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ในบ่ายวันเสาร์ (16) จัดขึ้นที่โรงแรมในการประชุมนอกรอบการประชุม APEC ที่กรุงลิมา เปรู

เป็นการเดินทางมาร่วมประชุม APEC ครั้งสุดท้ายของไบเดน และของการพบสีของผู้นำสหรัฐฯ ทำเนียบขาวกล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า ทั้งสองได้เห็นพ้องในการหารือประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ที่ว่า AI หรือคอมพิวเตอร์ปัญญาประดิษฐ์ไม่สมควรที่จะทำการตัดสินใจต่อการใช้อาวุธนิวเคลียร์

ซึ่งการเห็นชอบร่วมกันในประเด็นนิวเคลียร์นี้ถือเป็นก้าวแรกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระหว่างกันในการหารือต่อ 2 ประเด็นสำคัญทั้ง อาวุธนิวเคลียร์ และเทคโนโลยี AI

ที่ผ่านมา วอชิงตันสมัยไบเดนพยายามผลักดันปักกิ่งมาหลายเดือนให้ยกเลิกการต่อต้านที่มีมานานจากฝ่ายปักกิ่งในการเจรจานิวเคลียร์

ทั้งนี้ พบว่าทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างหันกลับมาหารือนิวเคลียร์อีกสั้นช่วงสั้นๆ ในระดับเจ้าหน้าที่เดือนพฤศจิกายน แต่การเจรจาเหล่านั้นตั้งแต่นั้นกลับหยุดชะงัก พร้อมไปกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระดับสูงออกมาแสดงความอึดอัดอย่างเปิดเผยต่อการแสดงออกของจีน

เดอะการ์เดียนชี้ว่า ถึงแม้ผู้นำทั้งสองจะเห็นพ้องที่ AI ไม่สามารถควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ในวันเสาร์ (16) แต่เชื่อว่าไม่คาดว่าการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างกันอย่างเป็นทางการจะสามารถเริ่มในเร็ววัน ท่ามกลางวิตกของวอชิงตันต่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ของจีน

นอกเหนือจากนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (15) ยังได้พบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุน ซอกซอล และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ ชิเงรุ อิชิบะ พร้อมยืนยันต่อความเป็นพันธมิตรของทั้ง 3 ประเทศ

ฟ็อกซ์นิวส์ของสหรัฐฯ รายงานว่า กลายเป็นข่าวไปทั่วโลกต่อภาพหมู่ผู้นำประชุมเอเปกที่เปรูครั้งนี้เมื่อเจ้าภาพจัดให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ถือเป็นผู้นำโลก แต่กลับได้ตำแหน่งยืนในแถว 2 มุมอับ ในขณะที่ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ซึ่งเพิ่งตัดริบบิ้นเปิดท่าเรือ Chancay Port ขนาดใหญ่จากทุนจีนในเปรูได้ถูกจัดให้ยืนอยู่ในแถวหน้าติดประธานาธิบดีเปรู ไดนา โบลูอาร์เต (Dina Boluarte)

เดลีเทเลกราฟของอังกฤษรายงานว่า ผู้นำจีนเดินทางมายังเปรูเที่ยวนี้ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากโบลูอาร์เต เฟิร์สต์โพสต์ของอินเดียรายงานว่า นับตั้งแต่ปี 2019 มีบริษัทจีนราว 200 แห่งได้ลงทุนในเปรูมูลค่าร่วม 30 พันล้านดอลลาร์

และการจัดตำแหน่งยืนภาพหมู่เอเปกนี้อาจสามารถชี้ว่า แดนละตินอเมริกาที่ถูกเรียกว่าเป็น “หลังบ้านสหรัฐฯ” แต่ในเวลานี้กลับพบว่าอิทธิพลวอชิงตันภายในภูมิภาคกลับถดถอยและมี “จีน” ผงาดในฐานะผู้นำภูมิภาคโลกขั้วใต้แทน

ฟ็อกซ์นิวส์รายงานว่า การประชุมเอเปดเที่ยวนี้พบว่า นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด และนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แอนโธนี อัลบานิส ที่ถึงแม้จะอยู่แถวหน้าแต่ถูกจัดให้อยู่ไกลสุดโดยผู้นำออสเตรเลียยืนริมซ้ายสุดของแถวแรก และทรูโดยืนอยู่ด้านซ้ายลำดับ 3 นับจากอัลบานิส

เอบีซีนิวส์ของออสเตรเลียเปิดเผยว่า เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่าผู้นำจีนนั้นไม่ได้ร่วมการประชุมในที่สาธารณะหรือแบบปิดห้องลับกับบรรดาผู้นำชาติ APEC ในเปรู

ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความวิตกถึงการกลับเข้าสู่ตำแหน่งอีกครั้งของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกัน โดนัลด์ ทรัมป์ และการเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบโลก

อัลบานิสกล่าวว่า เขาหวังว่าจะใช้อิทธิพลออสเตรเลียในฐานะอำนาจคนกลางเพื่อขวางสงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน

พร้อมกันนี้ ยังเปิดเผยกับนักข่าวว่า เขาไม่แน่ใจว่าเหตุใดประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง จึงไม่เข้าร่วมการประชุมกับบรรดาผู้นำ

ฟ็อกซ์นิวส์รายงานว่า ภาพถ่ายหมู่ผู้นำชาติกลุ่ม APEC แสดงให้เห็น ไบเดนซึ่งยืนติดนายกรัฐมนตรีไทย แพทองธาร ชินวัตร ที่ถือเป็นนายกฯ หน้าใหม่และเพิ่งมีโอกาสร่วมการประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง

ผู้นำสหรัฐฯ ในระหว่างการยืนผู้ร่วมถ่ายภาพยิ้มแย้มและหัวเราะกับผู้นำไทยและนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ที่ถูกจัดให้ยืนหน้าไบเดนในลำดับขวาสุดของแถวแรก

นอกจากนี้ ยังมีช็อตที่ไบเดนกุมมือของนายกฯ อิ๊งที่กำลังหัวเราะ และช็อตที่แสดงให้เห็นว่า เขากำลังให้ความสนใจต่อการสนทนากับผู้นำไทยที่มีการยกแขนประกอบ โดยทั้งสองพบกันครั้งแรกที่เปรูนี้ เพราะนายกฯ หญิงของไทยไม่ได้เดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อร่วมประชุมใหญ่สหประชาชาติที่นิวยอร์ก ซิตี











ที่มา : MgrOnline