ฮือฮา ! เถ้าแก่บุกสู่ขอ ช้างแฝด ต่างเพศคู่แรกของโลก พร้อมเปิดรับคู่แฝด ชายหญิง ร่วมงาน

เผยแพร่ : 22 ต.ค. 2567 21:50:21
X
• งานแต่งช้างแฝดคู่แรกของโลก:
• ช้างแฝดคู่แรกของโลก ต่างเพศ จะจัดพิธีแต่งงาน
• จัดงานที่พระนครศรีอยุธยา
• เถ้าแก่บุกสู่ของาน:
• เถ้าแก่ไม่เปิดเผยตัว
• ขอแต่งงานช้างแฝด
• ปิดเป็นความลับเรื่องค่าสินสอด
• เปิดรับคู่แฝด:
• เชิญคู่แฝดชายหญิง ร่วมงานแต่งงาน

พระนครศรีอยุธยา - ฮือฮา ! เถ้าแก่บุกสู่ของานพิธี คชสารสยุมพร หรือ งานแต่งงานช้างแฝดคู่ ต่างเพศคู่แรกของโลก ปิดค่าสินสอดเป็นความลับ พร้อมเปิดรับคู่แฝด ชายหญิง ร่วมงาน

บ่ายวันนี้( 22 ต.ค.) ที่ หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายธัญญศักดิ์ พร้อมด้วย นางฉัตรธีรญา กิตติรัตนไพศาล เป็นเจ้าของธุรกิจ จากจังหวัดนครสรวรรค์ เดินทางมาเป็นตัวแทนเถ้าแก่ เพื่อมาทาบทาม ในการจัดงาน คชสารสยุมพร หรือ แต่งงานช้างแฝดคู่ ต่างเพศคู่แรกของโลก กับทาง นายลายทองเหรียญ และ นางร่มทองทราย มีพันธุ์ เจ้าของวังช้างอยุธยาแลเพนียด ระหว่าง พลายสรรพลักษณ์โสภณ กับ พังสกลลักษณ์โสภิต เพื่อเป็นสิริมงคลกับช้างแฝด ต่างเพศคู่แรกของโลก ที่กำเนิดจาก พังจามจุรี โดยมีสักขีพยานจากหลายส่วนรวมถึงชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาในวันนี้

ซึ่งบรรยากาศการที่เถ้าแก่เดินทางมาทำพิธีสู่ขอเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีพิธีการก่อนเข้าบ้านไหว้ศาลปะกำ ภายในหมู่บ้านช้างเพนียดหลวง เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินเข้าสู่พิธีที่เป็นที่อยู่ของช้างแฝดทั้ง 2 มีการสอบถามถึงอนาคตการดูแล ให้เพื่อเกิดลูกเกิดหลานสืบทอดต่อไปยาวนาน และที่สำคัญ เป็นพันธ์ที่กตัญญูกตเวที ต่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ โดยพอตกลง ช้างภายในพิธีก็ส่งเสียงร้องดังขานรับกันดังสนั่นไปทั่วบริเวณ

ทั้งนี้ยังมีการจัดขันหมากมาให้อย่างยิ่งใหญ่ สมศักดิ์ศรี รวมถึงสินสอด ที่ขอปิดเป็นความลับ จะเปิดให้ทราบในวันงาน วันที่ 7 พฤศจิกายน ที่จะถึงพร้อมๆกัน รวมถึงผู้ที่เป็นฝาแฝดชายหญิงสามารถติดต่อเข้ามาเพื่อร่วมงานในครั้งนี้ได้ด้วยถ้าประสงค์ให้ติดต่อมาได้เลยตั้งแต่บันนี้เป็นต้นไป จำนวน 109 คู่
นายเรียงทองบาท มีพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า งานวันนี้เป็นพิธีการสู่ขอ แต่งานจริงๆจะเกิดขึ้นวันที่ 7 พฤศจิกายน นี้ อยากจะเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมงาน โดยตรีมของงานจะเป็นสีฟ้า กับ สีชมพู ซึ่งการจัดการแต่งงานคู่แฝดเป็นธรรมเนียมของชายหญิงที่เกิดมาเป็นแฝด เพื่อจะได้เป็นสิริมงคล มีอายุยืน โดยเฉพาะในวันที่ 7 จะมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะจีนช้าง สถานที่เที่ยวต่างๆในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็จะคึกคัก โดยพิธีจะจัดขึ้นที่เพนียดคล้องช้าง โดยจะเริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าโดยมีพิธีสงฆ์ ตามแบบฉบับการแต่งงานของคนไทย

ด้าน นาย สวย สิริปริญญา รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สืบเนื่องจากปาฏิหาริย์ และสิ่งอันเป็นมงคลเกิดขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาหรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยตำนานไม่เคยพบปรากฏ ช้างที่มีลูกแฝด ซึ่งถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นนิมิตรหมายอันดียิ่ง ทาง นายลายทองเหรียญ และก็ผู้ที่รักช้างทั้งหมดได้เล็กเห็นว่าประเพณีวัฒนธรรมที่บรรพชนของเรา ได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ คือประเพณีการแต่งงานหรือประเพณีพิธีมงคลสมรส แต่ถ้าเราจะจัดเหมือนคนทั่วไป ก็อาจจะตำหนิได้ เราก็แปลงเป็นเรื่องของผู้หญิงมาขอผู้ชาย คือลักษณะของช้างเพศเมียมาขอช้างเพศผู้ เปลี่ยนไปจากธรรมชาติของมนุษย์ ทั่วไป แต่อันสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดก็เหมือนเดิมเพื่อประสงค์ในเขานั้นเป็นไปตามประเพณีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาทั้งหมด ว่าเขาประกาศว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว โดยวัฒนธรรมประเพณี

ต่อมา เขาจะมาเป็นสามีภรรยากัน หรือช้างเพศผู้เพศเมียที่จะมีเพศสัมพันธุ์แล้วก็สืบทอดในสายเลือดวงตระกูล ก็จะไม่มีการอับอายและเป็นมงคลสูงสุด เราจึงเห็นเรื่องนี้ และอีกอย่างหนึ่งการจัดงานนี้เพื่อประกาศให้สังคมทั่วโลกได้รับทราบว่าคนไทยเรารักช้างยิ่งชีพ แล้วการจัดงานครั้งนี้จะมีรายได้เกิดขึ้นทั้ง2ฝ่ายได้เปิดบัญชีไว้สำหรับช้างคู่นี้ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตของทั้ง 2 และในอนาคต คู่ของทั้ง 2 อาจจะเกิดช้างแฝด คู่ต่อไปในอนาคตก็เป็นได้





ที่มา : MgrOnline