กัลฟ์จับมือสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.) นำยุทธศาสตร์ "เมืองจุลินทรีย์" เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ ลดภาวะโลกเดือด เสริมเศรษฐกิจชุมชน

เผยแพร่ : 21 ต.ค. 2567 09:40:38
X
• สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.) จัดประชุมคณะกรรมการฯ ณ โรงแรม Cruises The Pool Access อ.แกลง จ.ระยอง
• นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมฯ สนพท. และ นายนพดล แสงวิไล กรรมการ สนพท. นำการประชุม
• เนื้อหาของการประชุมไม่ได้ระบุในข้อความที่ให้มา

วันที่ 20 ตุลาคม 2567 สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท) มีกิจกรรมจัดประชุมคณะกรรมการสมาคม ณ โรงแรม Cruises The Pool Access อ.แกลง จ.ระยอง นำโดย นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคม สนพท. และ นายนพดล แสงวิไล กรรมการ สนพท. จ.ระยอง และมีการจับมือประกาศเจตนารมณ์ MOU ร่วมกับกลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf ) และ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP ) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 นำโดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ Gulf พร้อมด้วยคณะกรรมสมาคม สนพท. จังหวัดต่างๆ พร้อมร่วมขับเคลื่อนและสนับสนุนการสื่อสารเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ "เมืองจุลินทรีย์" (Biobased) เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ ลดภาวะโลกเดือด รักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ชุมชน โดยฐานความรู้ด้าน “ฐานชีวภาพ” และนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ สู่การพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาคคีความร่วมมือภาคส่วนในสังคม แก้ปัญหาขยะเศษอาหารจากต้นทาง และเปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างมูลค่า คุณค่า เสริมอาชีพ รายได้ เศรษฐกิจชุมชน

พร้อมกับการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ระบบนิเวศ และขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐ และประชาสังคม สื่อมวลชน ลดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกเดือด ซึ่งเป็นปัญหาระดับนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยของเรา โดยกิจกรรมร่วมกัน ของ Gulf และ สนพท. คือ ในเดือนถัดไป คือ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 จะขับเคลื่อนกิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับกำนัน และคณะกรรมการชุมชน ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ตามแนวยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ เพื่อฟื้นฟู “ป่าต้นน้ำและหุบเขาจุลินทรีย์” ฟื้นระบบนิเวศป่าไม้ ป้องกันไฟป่า ลดคาร์บอน และเป็นการเสริมสร้างอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และลดต้นทุนทางการเกษตร 

สำหรับกิจกรรมในพื้นที่ จ.ระยอง ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน กล่าวว่า กลุ่มบริษัทกัลฟ์ มีนโยบายชัดเจนด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และร่วมพัฒนาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน กรณีตัวอย่างเช่น ในช่วง 3 ปี (ปี 2565-2567) ที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีการอบรมความรู้และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเศษอาหาร เศษปลา ก้างปลา (ปลาเห็ดโคลน) ที่ชาวบ้านแล่เนื้อขายจะมีเศษปลา ซึ่งเดิมทิ้งเป็นขยะซึ่งจะก่อเกิดมลพิษชุมชน ได้นำความรู้สู่ชุมชน “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” ด้วยกระบวนการหมักแบบชีวภาพ ผลิตเป็นฮอร์โมนปลาหมัก ปุ๋ยหมักแบบอินทรีย์ การผลิตจุลินทรีย์ก้อน (EM ball) ปุ๋ยน้ำจากปลาทะเล (ซึ่งราคาขายในท้องตลาดลิตรละ 120-150 บาท) แปรูปเป็นน้ำยาล้างจาน ล้างรถ ล้างห้องน้ำ น้ำยาอเนกประสงค์จุลินทรีย์ สามารถนำไปใช้ในการเกษตรพืชชนิดต่างๆ ปศุสัตว์ การบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน แม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ ป่าชายเลน ใช้ดูแลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและจำหน่ายสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้แก่ชุมชนได้จริง เป็นต้น

ปี 2565 บริษัทกัลฟ์ ร่วมกับวิสาหกิจกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา เทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง จัดโครงการฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม โดยนำความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่ได้จากการผลิตของวิสาหกิจชุมชนที่อบรมไว้ โดยใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพจากจุลินทรีย์ และจุลินทรีย์บอล นำไปใช้ปรับสภาพดิน น้ำ และใช้เป็นปุ๋ยหรือธาตุอาหาร พร้อมกับฟื้นฟูจุลินทรีย์ในสภาพแวดล้อมดินน้ำป่าของป่าชายเลน ช่วยย่อยเศษใบไม้ อินทรีย์วัตถุในป่าชายเลน ตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมทั้งร่วมกับชุมชนและชาวประมงปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติมกว่า 5,000 ต้น ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีอัตราการรอดกว่า 80% และเจริญเติบโตมาก จากที่เริ่มปลูกกล้าใหม่มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ผ่านไป 2 ปี เศษ เติบโตดีมากสูงกว่า 1.50-2.50 เมตร ใบเขียว แผ่กิ่งก้านรากแข็งแรงและปัจจุบันยังร่วมกับชุมชนฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง

อีกโครงการหนึ่ง Gulf ร่วมนำยทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ร่วมกับสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม จ.ระยอง จัดทำโครงการ “ระยองไม่เทรวม” โครงการแยกขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ลดขยะเศษอาหารของเมือง โดยนำองค์ความรู้ด้านจุลินทรีย์ (ฐานชีวภาพ) มาใช้รณรงค์การแยกขยะร่วมกับชุมชน และสนับสนุนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ชุมชนเป็นต้นแบบ นำขยะเศษอาหารจากครัวเรือน และห้างสรรพสินค้า ร้านค้า โรงแรมมาผ่านกระบวนการหมักแบบชีวภาพ แปรรูปเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพสูง ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และการทำจุลินทรีย์ก้อน (Em ball ) ภาคชุมชนและประชาสังคม อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการร่วมกับทางจังหวัด และ อบจ. เพื่อรณรงค์การแยกขยะและลดขยะแปรรูปเปลี่ยนเป็นประโยชน์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาขยะเศษอาหารล้นเมืองระยอง

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายก สนพท. กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทกัลฟ์ (Gulf) เป็นแนวคิดยุทธศาสตร์ที่ดีมากสอดคล้องกับปัญหาสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาขยะ และภาวะโลกร้อน ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องตระหนักและต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของเราทุกคน แนวคิด "ยุทธศาสตร์ เมืองจุลินทรีย์์" คือการใช้กลไกธรรมชาติชีวภาพในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมบูรณ์สมดุลสู่ความยั่งยืน แนวทางฟื้นฟูเสมือนการย้อนกลับไปสร้างโลกใหม่เพื่อแก้ปัญหาและสร้างนิเวศสิ่งแวดล้อมยั่งยืน สนพท. จะร่วมสื่อสารสร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกับกัลฟ์ โดยการสร้างองค์ความรู้แก่ชุมชน สังคม เพื่อณรงค์ให้ประชาชนตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีความรู้ มีแนวทางปฏิบัติในตนเองและครัวเรือนได้ และจะขับเคลื่อนกลไกทางสังคมร่วมกับทุกภาคส่วน เป็นองค์กรสื่อสารเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดี ของประเทศไทยของเราทุกคน

ที่มา : MgrOnline