AIS แอ่วเหนือ! ปู 5G ฝ่าเขา-ดอย รับท่องเที่ยวฤดูหนาว

เผยแพร่ : 29 พ.ย. 2567 11:55:10
X
• เน้นพื้นที่ห่างไกลและเสี่ยงภัยธรรมชาติ
• มุ่งหวังผลักดันเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาคเหนือ
• ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโครงข่ายที่มีความครอบคลุมที่สุด
• พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวในฤดูหนาว

AIS แอ่วเหนือ ปูพรม 5G-4G ฝ่าเขา-ภัยธรรมชาติ พลิกเกมเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว ตอกย้ำผู้นำโครงข่าย ครอบคลุมสุดรับฤดูหนาว

นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS กล่าวว่า AIS ยังคงเดินหน้าพัฒนาโครงข่าย 5G และ 4G ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร ด้วยวิสัยทัศน์นำนวัตกรรม InnoVis Network ร่วมกับ AI และ Autonomous Network เพื่อเสริมศักยภาพการสื่อสาร สู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Cognitive Tech-Co) ในพื้นที่ภาคเหนือที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ทั้งภูมิประเทศสูงชันและภัยธรรมชาติ AIS ยังคงเป็นผู้นำที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลเหนือระดับ ครอบคลุมทุกมิติทั้งลึก สูง กว้าง และไกล เพื่อเชื่อมต่อคนไทยทุกพื้นที่

ขณะที่ นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่า ภาคเหนือมีลักษณะพิเศษที่ท้าทาย ทั้งภูมิประเทศสูงชัน เต็มไปด้วยทิวเขาสลับซับซ้อน ดอยต่างๆ และภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ กระทบการวางโครงข่ายสัญญาณให้ตอบสนองการใช้งานของประชาชน ทีมวิศวกร AIS ต้องระดมความมุ่งมั่นและความชำนาญ เพื่อสร้างโครงข่ายที่แข็งแกร่ง ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าอย่าง Super Cell LINK มาขยายระยะสัญญาณ เชื่อมพื้นที่ราบไปจนถึงจุดที่ถูกบดบังหลังเทือกเขา นอกจากนี้ AIS ยังผสมผสานพลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์เซลล์ กังหันลม และไฮโดรเจน เข้ากับระบบกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ เพื่อให้โครงข่ายครอบคลุมและมีความยั่งยืน รองรับการยกระดับ Digital Inclusion สำหรับพื้นที่ห่างไกล

นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS กล่าวว่า โครงข่ายสื่อสารอัจฉริยะครอบคลุมมากกว่าการตอบสนองผู้ใช้งานทั่วไป ด้วยบริการที่รองรับทุกกลุ่ม ตั้งแต่คนรุ่นใหม่สาย Digital Nomad ที่ต้องการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ไปจนถึงกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูง โดย AIS ขยายสัญญาณครอบคลุมสถานที่ยอดนิยม เช่น อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ห้วยกุ๊บกั๊บ ทุ่งเกี๊ยะ บ้านป่าข้าวหลาม และดอยม่อนล้าน เพื่อยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวให้สะดวกสบาย พร้อมส่งต่อความสวยงามผ่านโลกออนไลน์แบบไร้ขีดจำกัด

นอกเหนือจากการท่องเที่ยว AIS ยังมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายในพื้นที่ห่างไกล เช่น การขยายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้โรงเรียน ตชด. ใช้ AI บริหารจัดการเครือข่ายในวิกฤตน้ำท่วม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าโครงข่ายยังใช้งานได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน สนับสนุนระบบโทรมาตรอัตโนมัติ และทำงานร่วมกับ GULF และ สวพส. ในโครงการ Green Energy Green Network For Thais ที่ช่วยพัฒนาพลังงานสีเขียวในพื้นที่ชนบท

"ยืนยันว่า โครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งลึกสุด ไกลสุด และสูงสุดในภาคเหนือ พร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในฤดูหนาวนี้ สร้างความมั่นใจให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในพื้นที่ พร้อมผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน" นายอาทยา กล่าว
นายกิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS
นายอาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS
นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS

ที่มา : MgrOnline