ส.อ.ท.ชง4ข้อเสนอ ดันOCAไทย-กัมพูชา

เผยแพร่ : 27 พ.ย. 2567 16:42:23
X
1. เจรจาโดยบุคคลที่เป็นกลาง น่าเชื่อถือ และคำนึงถึงผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก
2. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
3. เน้นการเจรจาอย่างเร่งด่วน
4. (ข้อที่ 4 ไม่ระบุในเนื้อหาที่ให้มา)

กลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ส.อ.ท. เสนอ 4 ข้อเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา(OCA)โดยดึงบุคคลที่ได้รับการยอมรับและวางใจ และคำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นที่ตั้งโดยไม่โยงการเมือง

นายนิพัฒน์สิน ยิ้มแย้ม ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ส.อ.ท. มีข้อเสนอต่อภาครัฐเพื่อผลักดันการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area: OCA)ให้บรรลุข้อตกลง เนื่องจากเห็นว่าหากล่าช้าอาจทำให้ประเทศเสียโอกาสที่จะได้นำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ในจังหวะที่ยังมีมูลค่าสูง

โดยมี 4ข้อเสนอดังนี้ คือ 1. ในการตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค(Joint Technical Committee -JTC )ไทย-กัมพูชา ฝ่ายไทยจะต้องเลือกประธานจากบุคคลที่สาธารณะให้การยอมรับ ไว้วางใจและต้องเป็นบุคคลที่คำนึงถึงผลประโยชน์ต่อชาติเป็นที่ตั้ง 2. คณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวกับการเจรจาจะต้องมีความต่อเนื่อง ไปจนกว่าจะได้ข้อยุติ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เนื่องจากขั้นตอนการเจรจา เป็นเรื่องของการต่อรองและเทคนิค
3.รัฐบาลจะต้องมีความกล้าหาญ ที่จะไม่โยงหรือดึงการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการเจรจา และ 4 ทุกฝ่ายต้องมีความสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียว คำนึงเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ เป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ของพรรคการเมือง พรรคใดพรรคหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปปฏิบัติได้ เช่นเดียวกับกรณีพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย(JDA) ที่ทั้งสองประเทศ ต่างได้ประโยชน์จากนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์

นายนิพัฒน์สิน กล่าวว่า ประโยชน์ที่ทั้งสองประเทศจะได้รับหากการเจรจาOCA ได้ข้อยุตินั้น ภาครัฐจะได้รับค่าภาคหลวงและภาษีปิโตรเลียม การลงทุนของอุตสาหกรรมต่อเนื่องทำให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งแตกต่างจากการนำเข้าก๊าซLNG ที่ภาครัฐจะไม่ได้ประโยชน์จากค่าภาคหลวง โดยในโครงสร้างทางธรณีของพื้นที่ OCA ที่อยู่ในแอ่งปัตตานี เช่นเดียวกับแหล่งปิโตรเลียมสำคัญของฝั่งไทยทำให้มั่นใจว่า จะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติอยู่มากพอสมควร

อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในฝั่งไทย เช่นแท่นผลิตและระบบท่อส่งปิโตรเลียมก็พร้อมแล้ว ซึ่งยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หากมีก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ OCA ส่งเข้าระบบก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดต่ำลง ค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงเมื่อเทียบกับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เป็น LNG

ที่มา : MgrOnline