"ท๊อป บิทคับ" กล้าสอน "แบงก์ชาติ" ให้เก็บบิทคอยน์เป็นทุนสำรองประเทศ
เผยแพร่ : 26 พ.ย. 2567 16:58:27
• ความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโทฯ: ท็อปแสดงความกังวลต่อความไม่แน่นอนทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง และผลกระทบต่อตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย
• นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่สำคัญ: ความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่มีผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและตลาดคริปโทฯ
• การกำกับดูแลคริปโทฯยังเป็นประเด็นสำคัญ: การกำกับดูแลที่ชัดเจนและเป็นธรรมมีความสำคัญต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมคริปโทฯในไทย
• โอกาสและความท้าทายของคริปโทฯในไทย: ท็อปได้วิเคราะห์ทั้งโอกาสและความท้าทายของคริปโทฯในไทยภายใต้รัฐบาลใหม่ (รายละเอียดโอกาสและความท้าทายอาจต้องอ้างอิงเนื้อหาสัมภาษณ์ต้นฉบับ)
หมายเหตุ: ข้อสรุปข้างต้นเป็นเพียงภาพรวม รายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันไปตามเนื้อหาสัมภาษณ์ต้นฉบับ
ในการให้สัมภาษณ์พิเศษของ Siam Blockchain ซึ่งได้มีการเชิญ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา หรือ ท๊อป บิทคับ ผู้ก่อตั้ง Bitkub ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย มาพูดคุยในประเด็นที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรง หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเสร็จสิ้น ลง โดยว่าที่ ปธน.สหรัฐคนที่ 47 ประกาศกร้าวจะผลักดัน "บิทคอยน์เป็นสินทรัพย์คงคลังเชิงกลยุทธ์แห่งชาติ" ภายใต้นโยบาย อเมริกาต้องมาก่อน ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงในการยกเครื่องการเงินยุคดิจิทัลว่า “ทำไมแบงค์ชาติถึงควรเร่งเก็บบิทคอยน์เป็นหนึ่งในทุนสำรองของประเทศ ก่อนที่จะสายเกินไป?”
โดยนายจิรายุส ได้ให้เหตุผลในหลากหลายประเด็น พร้อมทั้งเปิดมุมมองการเงินในโลกบล็อกเชน ที่อาจเปลี่ยนอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้แยกย่อยเป็นประเด็นต่างๆ ได้แก่ "ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกเริ่มหันมามองคริปโตและถือครองบิทคอยน์เป็นทุนสำรองมากขึ้น" เช่น
อเมริกา มีอยู่แล้วกว่า 210,000 เหรียญ (โดยบิทคอยน์ส่วนใหญ่ในมือของรัฐ มาจากการอายัดสินทรัพย์ดิจิทัลในคดีผู้กระทำผิดกฏหมาย) ซึ่งในนโยบายของรัฐบาลของทรัมป์ (ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคา 2568) มีแผนจะถือครองบิทคอยน์เพิ่มเป็น 1,000,000 BTC เพื่อหวังเป็นศูนย์กลางอำนาจในอุตสาหกรรมคริปโต
ขณะที่จีน (แม้จะมีการแบนบิทคอยน์) แต่ก็มีการถือครองบิทคอยน์ในมือกว่า 190,000 BTC
ส่วนอังกฤษ ก็มีการถือครองบิทคอยน์ประมาณ 80,000 BTC
และประเทศแรกในโลกที่มีการประกาศรับรองบิทคอยน์เป็นเงินตราตามกฏหมายของประเทศอย่าง เอลซัลวาดอร์ ก็มีการซื้อบิทคอยน์อย่างต่อเนื่องทุกวันอย่างน้อย 1 BTC มาตั้งแต่ปี 2564
หรือกระทั่งประเทศเล็กๆท่ามกลางวงล้อมภูเขาอย่าง ภูฏาน ก็ยังมีการถือครองบิทคอยน์กว่า 20,000 BTC ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนสำรองการคลังของประเทศ
และประเทศไทยละ....ถ้าไทยไม่มีบิทคอยน์จะเกิดอะไรขึ้น?
นายจิรายุส ให้เหตุผลถึง "ประเทศไทยที่ควรถือครองบิทคอยน์" ว่า หากประเทศไทยยังไม่มีบิทคอยน์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ในทุนสำรองเลย ซึ่งถ้าวันหนึ่งในอนาคตที่บิทคอยน์เข้ามามีบทบาทเป็น “The New Gold Standard” หรือการรับรองมาตรฐานเงินคริปโตเป็นเงินที่เทียบเท่าทองคำในโลกดิจิทัล หมายความว่า ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเขามีการถือครองบิทคอยน์กันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่เริ่มอะไรเลย ซึ่งเท่ากับว่า "เรา (ประเทศไทย) จะขาดดุลอย่างมหาศาล"
"ตัวอย่างเช่น (เหตุการณ์สมมุติ) ถ้าหากบิทคอยน์ขึ้นไปแตะที่ราคา 1,000,000 ดอลล่าร์ต่อเหรียญบิทคอยน์หรือประมาณ 35 ล้านบาทต่อเหรียญ (ตามอัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลล่าสหรัฐ) เท่ากับว่าประเทศไทยอาจต้องสูญเสียงบประมาณมหาศาลถึง 10 เท่าของต้นทุนในปัจจุบัน เพียงเพื่อให้ได้บิทคอยน์มาถือครอง ในจำนวนเดียวกับที่ประเทศอื่น ๆ ถือครองอยู่แล้ว ถ้าเรารอสายเกินไป ต้นทุนจะพุ่งสูงขึ้น และเราจะต้องเผชิญกับการขาดดุลมหาศาล” นายจิรายุส กล่าว
ทำไมประเทศไทยต้องรีบเข้าถือครองบิทคอยน์?
นายจิรายุส ให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า การดำเนินยโยบายเศรษฐกิจการเงินของไทยมักเดินตามรอย ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถ้าถามว่า สิงค์โปร์เดินตามรอยใคร ก็คือสหรัฐฯ
“ทําไมเราไม่มองข้ามเสตป สหรัฐเขาก็ทําแล้ว อังกฤษก็ทําแล้ว จีนก็ทําแล้ว ทําไมเราต้องรอสิงคโปร์ถูกไหมครับ รอสิงคโปร์อันนั้นเราจะกลายเป็นคนสุดท้ายที่เทคแอคชั่น ทีนี้เนี่ยต้นทุนบานที่สุดเลยคราวนี้” นายจิรายุส กล่าวส่งสัญญาณทิ้งท้ายไปถึงแบงก์ชาติ และกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลการเงินและนโยบายการคลังของประเทศ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการถือครองบิทคอยน์ในระดับประเทศ สิ่งที่รัฐระวัง! ให้ความสำคัญสูงสุด
การถือครองบิทคอยน์ในฐานะสินทรัพย์สำรองหรือเพื่อการลงทุนของรัฐ แม้จะมีศักยภาพสร้างมูลค่าเพิ่มและแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ก็เต็มไปด้วยความเสี่ยงหลายด้านที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ได้แก่
1.ความผันผวนของราคา : ราคาบิทคอยน์มีความผันผวนสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความเชื่อมั่นในตลาด การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ และการดำเนินการของผู้ถือครองรายใหญ่ หากรัฐถือครองบิทคอยน์ในปริมาณมาก อาจเผชิญกับความเสี่ยงจากมูลค่าทรัพย์สินที่ลดลงอย่างรวดเร็ว
2.ความไม่แน่นอนด้านกฎหมายและการกำกับดูแล ที่ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง : คริปโตเคอร์เรนซีอยู่ในเขตสีเทาทางกฎหมายในหลายประเทศ หากมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในระดับนานาชาติ รัฐที่ถือครองบิทคอยน์อาจเผชิญข้อจำกัดด้านการซื้อขาย การโอนย้าย หรือการแปลงสินทรัพย์เหล่านี้
3.ความเสี่ยงทางไซเบอร์ : การโจมตีทางไซเบอร์ เช่น การแฮกกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มที่เก็บบิทคอยน์ อาจนำไปสู่การสูญเสียสินทรัพย์มูลค่ามหาศาล แม้จะมีการใช้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูง
4.ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ : การถือครองบิทคอยน์อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หากเกิดการขาดทุนหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล อาจทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ
5.ความซับซ้อนในการบริหารจัดการ : การบริหารจัดการบิทคอยน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งอาจเป็นภาระต้นทุนที่สูง
6.การกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจ : หากรัฐใช้บิทคอยน์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเงินหรือการลงทุน อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลในระบบการเงิน รวมถึงสร้างความกังวลให้กับสถาบันการเงินและประชาชนในประเทศ
แม้การถือครองบิทคอยน์จะเปิดโอกาสให้รัฐได้รับผลตอบแทนที่สูง แต่ความเสี่ยงเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างรอบคอบและมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ
ที่มา : MgrOnline