FAO ร่วมกับองค์กรพันธมิตร จัดงาน World AMR Awareness Week Food Fair 2024 รวมพลังลดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

เผยแพร่ : 24 พ.ย. 2567 17:44:52
X

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมกับ องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคแปซิฟิกตะวันออกองค์การอนามัยสัตว์โลกภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป และ USAID   จัดกิจกรรมสัปดาห์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ “World AMR Awareness Week Food Fair 2024” ในวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ที่สามย่านมิตรทาวน์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ชี้ถึงผลกระทบจากการใช้สารต้านจุลชีพ ทั้งในส่วนบุคคล การผลิตอาหาร ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่รับผิดชอบในการใช้สารต้านจุลชีพที่ช่วยลด AMR
 
“อาหารเป็นเส้นทางการส่งต่อในการเกิดเชื้อดื้อยาที่สำคัญมาก มีทั้งปศุสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ผลไม้และผัก การแปรรูปอาหาร การใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินไปในภาคเกษตรกรรมมีส่วนทำให้เกิดการดื้อยา รวมถึงการใช้ยาในการรักษาโรคในพืชผลในสัตว์และมนุษย์ งานนี้จึงจัดขึ้นในรูปแบบเทศกาลอาหาร เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของประเด็นเหล่านี้ โดยเราได้รวมตัวกันในนามขององค์กรต่างๆทั่วโลก เพื่อยกระดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไข” David Sutherland เจ้าหน้าที่ Animal Health and Production OfficerFAORAP กล่าว
 
ทั้งนี้ พิษภัยของการเกิดเชื้อดื้อยา บางชนิดไม่มียารักษาได้แล้วยังส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อจนมีอัตราการตายสูง หรือก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนขึ้นกับผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว หากเชื้อดื้อยาอยู่ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ แม้จะไม่ได้ก่อโรคก็อาจแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน
 
Rick Brown เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ สำนักงาน WHO ประจำประเทศไทยกล่าวว่า สิ่งที่เราต้องทำคือ เพิ่มความพยายามในการจัดหายาปฏิชีวนะชนิดใหม่เพื่อเป็นอาวุธต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพ นอกจากนี้ เราต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางชนิด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดยั้งโรคได้ อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ จึงควรให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนว่าเหตุใดจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการใช้
 
งานนี้ยังได้เชิญผู้ที่คร่ำหวอด จากการทำงานเชื้อดื้อยา ในไทยมาร่วมแชร์ประสบการณ์ ลดภัยคุกคามจากเชื้อดื้อยา โดย ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี  ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่าปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพยังน่าเป็นห่วงเพราะเกิดการแพร่อย่างกว้างขวางคนทั่วไปอาจจะมีการดื้อยาในตัวโดยที่ไม่รู้ตัว การให้ความรู้ถึงผลกระทบในระยะยาวกับประชาชน จึงเป็นสิ่งสำคัญ  “ควรสร้างทางเลือกในการใช้ตัวอื่นแทนยาปฏิชีวนะ ให้กับเกษตรกร เพราะถ้าใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นวงจรเชื้อดื้อยา ต้องเปลี่ยนยาใหม่อยู่เรื่อย ทำให้การรักษายาวนานขึ้น ถ้ารักษาไม่ได้ก็เสียชีวิต วิธีที่จะลดเชื้อดื้อยาได้คือ 1. หากไม่จำเป็น ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะอาจไปทำลายแบคทีเรียในตัวเองได้  2. ควรกินยาให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะจะส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวะตัวเดิม 3. ไม่นำไปใช้ในทางที่ผิด หรือนำไปใช้ในการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ พืช นอกจากนี้ทาง อย. ควรมีระบบควบคุมการกระจายยาจากต้นทางไม่ให้แพร่กระจายอย่างไม่ถูกต้อง อยากให้ผู้บริโภคและผู้ที่ใช้บริการร้านยา ตระหนักว่าอย่างน้อยควรมีเภสัชกร การจ่ายยาต้องมีฉลากชื่อยาครบถ้วน เรื่องนี้เป็นกฎหมายแล้ว เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมมือกันในการป้องกันลงมือปฏิบัติจริง” ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าว
 
ทางด้าน ทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสนอมุมมองว่า ผู้บริโภคต้องใช้สิทธิ์ของตัวเอง ในการเสาะหาที่มาของอาหารที่บริโภคว่ามีการใช้หรือมีการเลี้ยงสัตว์อย่างไร ในส่วนของการใช้ยาก็ต้องใช้ยาอย่างเหมาะสม ใช้ยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ ไม่ควรใช้ยาตามใจตัวเอง ในขณะที่ อำนาจ เรือนสร้อยเกษตรกรจากแทนคุณฟาร์มออร์แกนิก แนะนำในเรื่องใช้ยาให้ถูกวิธี สนับสนุน ส่งเสริม ระบบการผลิตอาหารที่ไม่มีการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะวิธี และสนับสนุน ส่งเสริม ระบบการผลิตอาหารที่ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะ                                                

สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจในงานนี้ยังมี การเสวนาและทอล์คโชว์จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ที่ร่วมนำเสนอมุมมองขององค์กรเกี่ยวกับภัยคุกคามของ AMR ,นิทรรศการงานวิจัย,ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ,และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจภัยจากเชื้อดื้อยา




ที่มา : MgrOnline