สส.แพ้โหวต กมธ.ร่วม พ.ร.บ.ประชามติ 13 สว.ผนึกหนุนหลักเสียงข้างมาก 2 ชั้น ส่อแตกหักยื้ออีก 180 วัน

เผยแพร่ : 20 พ.ย. 2567 17:13:44
X
• ส.ว. 13 เสียงสนับสนุนหลักเสียงข้างมาก 2 ชั้น
• ร่าง พ.ร.บ. ส่งกลับสู่ที่ประชุมใหญ่พิจารณา
• อาจเกิดการยื้อแย่งอีก 180 วัน

สส.แพ้โหวตใน กมธ.ร่วม พ.ร.บ.ประชามติ สว. 13 เสียง ผนึกลงมติหนุนหลักเสียงข้างมาก 2 ชั้น ส่งกลับเข้าที่ประชุมใหญ่พิจารณาต่อ ส่อแตกหักยื้ออีก 180 วัน

วันนี้ (20 พ.ย.) นายกฤช เอื้อวงศ์ สว. พร้อมด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อหาข้อยุติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ปี 2564 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาเห็นแย้งกัน โดยวุฒิสภาเสนอให้แก้ไขเป็นหลักเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น นำมาสู่การตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

นายกฤช ระบุว่า วันนี้น่าจะเป็นการประชุมก่อนครั้งสุดท้าย โดยผลลงมติเสียงส่วนใหญ่ให้คงไว้ตามที่วุฒิสภาแก้ไข 13 เสียง และ 9 เสียง ลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ และงดออกเสียง 3 คน จากองค์ประชุมทั้งหมด 25 คน

หลังจากนี้ จะนำร่างกฎหมายกลับเข้าสู่แต่ละสภาเพื่อพิจารณาความเห็น หากสภาใดไม่เห็นชอบ สามารถลงมติยับยั้งร่างกฎหมายและเสนอกลับเข้ามาใหม่ โดยต้องชะลอร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ 180 วัน

ด้าน นายวุฒิชาติ กล่าวว่า ขอเชิญชวนประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตัวท่านเอง และประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนโดยตรง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับประชุมคณะกรรมาธิการครั้งต่อไป คือ วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2567 เพื่อรับรองรายงานการประชุม จากนั้นวันที่ 6 ธ.ค. จะยื่นร่างกฎหมายเข้าสู่แต่ละสภา โดยหลังจากเปิดสมัยประชุมแล้ว คาดว่า วันที่ 16 ธ.ค.จะเข้าสู่วาระการประชุมวุฒิสภา และวันที่ 18 ธ.ค.จะเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับกรรมาธิการที่งดออกเสียง 3 คน ประกอบด้วย พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สว. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ และกรรมาธิการในสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย ทั้ง 2 คน คือ นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ เลขาธิการพรรค และ นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย

นายกฤช เอื้อวงศ์ สว. พร้อมด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลการประชุม กมธ. ครั้งที่ 3 เพื่อหาข้อยุติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ปี 2564 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร กับวุฒิสภาเห็นแย้งกัน โดยวุฒิสภาเสนอให้แก้ไขเป็นหลักเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น จนนำมาสู่การตั้งกมธ.ร่วมกันเพื่อหาข้อยุติดังกล่าว

โดย นายกฤช กล่าวว่า การประชุมวันนี้น่าจะเป็นการประชุมก่อนครั้งสุดท้าย โดยผลลงมติเสียงส่วนใหญ่ให้คงไว้ตามที่วุฒิสภาแก้ไข 13 เสียง และ 9 เสียง ลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอ และงดออกเสียง 3 เสียง จากองค์ประชุมทั้งหมด 25 คน หลังจากนี้ จะนำร่างกฎหมายกลับเข้าสู่แต่ละสภาเพื่อพิจารณาความเห็น หากสภาใดไม่เห็นชอบ สามารถลงมติยับยั้งร่างกฎหมาย และเสนอกลับเข้ามาใหม่ ทั้งนี้เชื่อว่า สส. คงไม่เห็นด้วยการแก้ไขของ สว.ทำให้ต้องพักร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ 180 วัน แล้วจึงจะเสนอเข้ามาใหม่ได้

นายกฤช กล่าวว่า การประชุม กมธ.ครั้งต่อไป คือ วันที่ 4 ธ.ค.เพื่อรับรองรายงานการประชุม จากนั้นวันที่ 6 ธ.ค. จะยื่นร่างกฎหมายเข้าสู่แต่ละสภา โดยหลังจากเปิดสมัยประชุมแล้ว คาดว่า วันที่ 16 ธ.ค. จะเข้าสู่วาระการประชุมวุฒิสภา และวันที่ 18 ธ.ค.จะเข้าสู่วาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับกรรมาธิการที่งดออกเสียง 3 คน นั้น นายกฤช กล่าวว่า พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สว. ในฐานะประธานกมธ. และกรรมาธิการในสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย ทั้ง 2 คน คือ นายไชยชนก ชิดชอบ สส.บุรีรัมย์ เลขาธิการพรรค และ นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย

ด้าน นายวุฒิชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่ กมธ.ฝั่ง สว. คงไว้ซึ่งเสียงข้างมากสองชั้น เพราะเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ จำเป็นต้องมีประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุด จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยตัวท่านเอง เพราะประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนโดยตรง

ขณะที่ นายพิศิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะกรรมาธิการ กล่าวว่า ส่วนการเชิญตัวแทนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มาชี้แจงต่อกรรมาธิการถึงความพร้อมการทำประชามติผ่านทางไปรษณีย์นั้น ตัวแทนทางไปรษณีย์ ยืนยันว่า มีความพร้อมการทำประชามติผ่านทางไปรษณีย์ว่าสามารถทำได้ โดยวิธีการจะให้ประชาชนมายืนยันตัวตนที่ไปรษณีย์ในเขตนั้นๆ จากนั้นก็จะมีการลงมติที่ไปรษณีย์ ดูแล้วเป็นช่องทางที่สามารถป้องกันการลงคะแนนแทนกันได้ เพราะต้องใช้บัตรประชาชนมายืนยันตัวตนที่ไปรษณีย์ก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายการทำประชามติผ่านไปรษณีย์ทราบว่า อยู่ที่ประมาณ 1 พันกว่าล้านบาท ดูแล้วไม่ได้ถูก แต่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาทำงานต่างภูมิลำเนา ไม่ต้องเดินทางกลับไปลงคะแนนที่ภูมิลำเนาของตัวเอง ขณะที่ตัวแทน กกต.ระบุว่า ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า จะมีการทำประชามติผ่านทางไปรษณีย์หรือไม่ แค่บอกว่าจะรับไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่าจะดำเนินการหรือไม่

ที่มา : MgrOnline