ดัชนีแข่งขันดิจิทัลไทยลดสู่อันดับ 37 เปิดมุมวิเคราะห์ ย่อเพื่อโดดตามเป้า
เผยแพร่ : 20 พ.ย. 2567 14:58:11
• สาเหตุหลัก: การเพิ่มตัวชี้วัดใหม่ด้าน AI ซึ่งไทยยังอยู่ในช่วงศึกษาและกำหนดมาตรการ
• ไทยอ่อนแอ 3 ด้าน (รายละเอียดไม่ระบุในคำถาม) ต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข่าวต้นฉบับเพื่อระบุ 3 ด้านที่อ่อนแอ
IMD World Competitiveness Center เผยการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 ไทยอันดับลดลงจาก 35 สู่ 37 หลังมีการเพิ่มตัวชี้วัดเพิ่มใหม่โดยเฉพาะด้าน AI ที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างศึกษา และออกมาตรการกำกับดูแล ชี้ 3 ดัชนีชี้วัด เทคโนโลยี ความรู้ และการเตรียมความพร้อมสู่อนาคต ประเทศไทยยังอยู่ในจุดเตรียมพร้อมให้แข่งขันได้
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ข้อมูลว่า การมีตัวชี้วัดในลักษณะที่เป็นการเปรียบเทียบ บางครั้งอาจทำให้เห็นภาพถึงการแข่งขันดีกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงบางประเทศอาจจะพัฒนาดีกว่าไทยก็ได้เช่นกัน ทำให้เวลานำมาประเมินต้องดูลงไปถึงรายละเอียดว่าไทยอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น หรือแย่ลงขนาดไหน
โดยผลจากการจัดอันดับที่ไทยตกลงมาอยู่อันดับ 37 นั้น เมื่อดูในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีลำดับที่ลดลงเช่นเดียวกัน ยกเว้นอินโดนีเซียที่ขยับขึ้นมาจากการที่ในช่วงที่ผ่านมามีการลงทุนทางด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
เมื่อดูไปถึงรายละเอียดในการจัดอันดับใน 3 เกณฑ์ชี้วัดหลักพบว่า ประเทศไทยมีผลการจัดอันดับดีขึ้นเล็กน้อยใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) และด้านความพร้อมสำหรับอนาคต (Future Readiness) ที่ต่างดีขึ้น 1 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ที่อันดับ 40 และอันดับ 41 ในขณะที่ด้านเทคโนโลยี (Technology) ที่ไทยมีอันดับดีมาโดยตลอด กลับปรับอันดับลงค่อนข้างมากถึง 8 อันดับจากปี 2566 มาอยู่ที่อันดับ 23 ในปีนี้
เนื่องจากทาง IMD มีการเพิ่มตัวชี้วัดเข้ามาในการวิเคราะห์จัดอันดับทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด แบ่งเป็นภายใต้ปัจจัยย่อยด้านกรอบกฎหมาย (Regulatory Framework) เกี่ยวกับ AI และปัจจัยย่อยด้านโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (Technological Framework) ซึ่งกลายเป็นว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานที่จะเห็นผลชัดเจนในปีหน้า
“เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาไทยมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ทำให้คณะกรรมการ AI ที่มีการตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณาถึงข้อกฎหมาย และการกำกับดูแลได้หยุดชะงักไป ก่อนที่จะมีการเสนอนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการ AI ความเป็นชุดทำงานที่มีความยั่งยืนเพื่อให้สามารถสานต่อ และขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่”
ที่ผ่านมา รัฐบาล และกระทรวงดีอีได้พยายามส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทางด้าน AI ในไทย ซึ่งในปีนี้มีการประกาศเข้ามาลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยจากผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับโลก ตรงนี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มอันดับในการแข่งขันดิจิทัลให้ไทยอย่างแน่นอน เพียงแต่อาจต้องรอระยะเวลาให้เกิดขึ้นในปีหน้า
รวมถึงการผลักดันนโยบายอย่าง Cloud First Policy ที่จะเข้ามายกระดับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งในปีต่อไปจะมีความท้าทายจากการขยับในเรื่องของ Go Cloud First ทำให้หลังบ้านรัฐบาลเป็นดิจิทัล ที่ในปี 2568 เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่น้อยกว่า 200,000 คน จะทำงานบน Paperless พร้อมกับมีการเชื่อมต่อ Digital ID จาก ThaiD 10 กว่าล้านคน NDID 10 กว่าล้านคน จนปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียน Digital ID แล้วกว่า 40 ล้านคน ซึ่งถ้าบริการดิจิทัลของภาครัฐ อย่าง ‘ทางรัฐ’ เกิดขึ้น จะทำให้ในปีต่อๆ ไปคะแนนของส่วนนี้จะดีขึ้นด้วย
“หลักใหญ่ๆ ในการวัดหลายอย่างของ IMD ไม่ได้วัดจากข้อมูล (Administration Data) เพียงอย่างเดียว แต่มีการวัดจากความคิดเห็นของผู้บริหาร ทำให้ทางกระทรวงดีอีต้องพยายามสื่อสารถึงความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงไปให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เห็นว่าไม่ได้อยู่ในจุดเดิม ถ้าเปลี่ยนความเข้าใจได้ เวลามีการให้ความเห็นจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น”
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่กระทรวงดีอีวางไว้ว่าภายในปี 2569 ประเทศไทยต้องการขยับดัชนีการแข่งขันดิจิทัลให้ขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 30 เช่นเดิม ซึ่งแม้ว่าดูแล้วจะมีความท้าทาย แต่เชื่อว่าจากแผนงานที่ดำเนินการไว้ และจะเริ่มเห็นผลในปีหน้า จะทำให้ไทยมีลำดับการแข่งขันที่ดีขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน
ที่มา : MgrOnline