สภาเสียงแตกปม 112 เถียงกันไม่ลงตัว ปิดหนีโหวตผลศึกษษแนวทางนิรโทษ ทำญัตติด่วนแชร์ลูกโซ่เป็นหมัน

เผยแพร่ : 17 ต.ค. 2567 17:26:02
X
• สภาชิงปิดหนีโหวตรายงานนิรโทษฯ: หลังเกิดการถกเถียงกันไม่ลงตัวเกี่ยวกับรายงานนิรโทษกรรม
• ญัตติด่วนแชร์ลูกโซ่เป็นหมัน: ญัตติด่วนที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมเป็นหมัน เนื่องจากสภาปิดก่อนลงมติ
• "ชูศักดิ์" ย้ำล้างผิด 112 อ่อนไหว: ชูศักดิ์ ยืนยันว่าการล้างผิด มาตรา 112 เป็นประเด็นที่อ่อนไหว ไม่บังคับให้รัฐบาลดำเนินการ
• เสียงแตกในสภา: ส.ส. มีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม
• ปชน. โวยปิดประตูใส่ลูกหลาน: พรรคเพื่อชาติโจมตีการปิดประตูไม่ให้โหวตนิรโทษกรรม
• ภท. ลั่นไม่: พรรคภูมิใจไทยยืนยันว่าไม่สนับสนุนการนิรโทษกรรม

สภาชิงปิดหนีโหวตผลศึกษานิรโทษฯ หลังเถียงกันไม่ลงตัว ทำญัตติด่วนแชร์ลูกโซ่เป็นหมัน “ชูศักดิ์” ย้ำล้างผิด 112 อ่อนไหว ไร้บทบังคับ-ผูกมัดให้ครม.ดำเนินการ สส.เสียงแตก ปชน.บอกต้องมีวุฒิภาวะอย่าขวางนิรโทษ โวยปิดประตูใส่ลูกหลาน ภท.ลั่นไม่เป็นมิตร-ไม่ร่วมถก 112

วันนี้ (17ต.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ในการประชุมสภาฯ ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ซึ่ง กมธ.ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน กมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว

นายชูศักดิ์กล่าวรายงานว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การยกเลิกความผิด การกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาแต่สมควรเป็นการยกเลิกความรับผิดแก้ปัญหาข้ดแยงในบ้านเมืองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ทั้งนี้การตรากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นเครื่องมือให้ประเทศเดินหน้า ซึ่งในอดีตประเทศไทยมีกฎหมายนิรโทษกรรม 23 ฉบับ สำหรับรายงาน กมธ. เป็นการศึกษาแนวทางการตรากฎหมาย ไม่ใช่การพิจารณาหรือยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีข้อเสนแนะแนวทางหากมีการยกร่าง หรือ ตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อไปว่าควรหรือไม่ควรรวมการกระทำ ที่เป็นประโยชน์ที่ต่อประเทศชาติโดยรวม

“กมธ.เสนอความเห็นในทุกมิติ เพื่อให้สภาฯ ศึกษา เรียนรู้รับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน แม้รายงานเป็นการศึกษาแนวางการตรา พ.ร.บ. แต่ได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ เพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีของสังคมไทย เช่น ขอพระราชทานอภัยยโทษ แนวทางล้างมลทิน การชะลอการฟ้อง สั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธาร และตราพ.ร.บ.ที่มีเงื่อนไขตามกระบวนการที่เกิดขึ้น” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงสาระของรายงานกมธ. ว่า ควรกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปัจจุบันการกระทำที่ควรได้รับนิรโทษกรรม เน้นมูลเหตุที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง โดยกมธ.แยกในคดีหลัก เช่น ฐานะเป็นกบฎ การกระทำในคดีรอง เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน และแยกคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองออกมาพิจารณาเฉพาะ โดยแสดงเหตุผลทุกมิติ ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงการแสวงหามาตรอื่นๆ เช่น การนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข สำหรับรูปแบบการนิรโทษกรม กำหนดให้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ อัตโนมัติ มีคณะกรรมการพิจารณาและ ผสมผสาน ทั้งนี้กรณีตั้งกรรมการนั้นเนื่องจากช่วงเวลาของเหตุการณ์ซึ่งมีคดีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เมื่อมีคณะกรรมการพิจารณาจะทำให้การนิรโทษกรรมถูกต้องเป็นธรรม

นายชูศักดิ์กล่าวด้วยว่า มีการเสนอแนะแนวทางการตรา พ.ร.บ.อาจทำเป็นหลายฉบับเพราะเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของการกระทำนั้นแตกต่างกัน สำหรับข้อสังเกตของกมธ. นั้นมีหลายแนวทางเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและคาม.รับไปดำเนินการ เช่น การอำนวยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 110 และ มาตรา 112 ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของกมธ.ไม่ได้บังคับหรือผูกมัด ครม.ที่จะดำเนินการตามที่เสนอ

“รายงานนี้ขอเลื่อนการพิจารณา 2-3 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าไม่ใช่การพิจารณาพ.ร.บ. แต่เป็นการศึกษาของกมธ.ที่ได้รับมอบหมาจาก สภาฯมอบหมาย ดังนั้นที่ประชุมควรรับทราบรายงาน เพื่อนำผลการศึกษาไปพิจารณาประกอบกับการยกร่างกฎหมายในอนาคต” นายชูศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ในการอภิปรายของ สส. พรรคฝ่ายค้าน ที่มีพรรคประชาชนเป็นแกนนำ ได้สนับสนุนให้การนิรโทษกรรม รวมถึง คดีมาตรา 112 ด้วย อาทิ นายวีรนันท์​ ฮวดศรี สส.ขอนแก่น พรรคประชาชน อภิปรายว่า ในประเด็นของมาตรา 112 ที่กมธ.วางแนวทางให้เป็นคดีอ่อนไหวทางการเมือง เชื่อว่าจะเป็นตีกรอบการนิรโทษกรรมที่คับแคบเกินไป ทั้งที่ควรเปิดกว้าง เบื้องต้นคาดว่าจะมีผลคือกีดกันคดีดังกล่าวออกจากการนิรโทษกรรม อย่างไรก็ดีหากต้องการก้าวข้ามความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีต้องมัดรวมการนิรโทษกรรมคดี มาตรา 112 ด้วย

ทางด้านนายชริน วงศ์พันธ์เที่ยง สส.อยุธยา พรรคประชาชน กล่าวว่า รายงานของกมธ. ที่แสดงความเห็นต่อคดีมาตรา 112 แบบอิหลักอิ ไม่ชัดเจน จะทำให้ผู้ที่ต้องคดีมาตรา 112 ซึ่งถูกกลั่นแกล้ง หรือแจ้งความเกินกว่าเหตุจะเคว้งทันที ซึ่งกรณีไม่นิรโทษกรรม คดี มาตรา112 จะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดตามจำเป็น เท่ากับปิดประตูไม่ให้ลูกหลานเข้าบ้าน ดังนั้นควรเปิดใจและคุยแบบมีวุฒิภาวะ

ขณะที่การอภิปราย ของสส.ฝั่งรัฐบาล มีความชัดเจนว่า การนิรโทษกรรม ไม่ควรรวมคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง หรือ มาตรา 112 โดยนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย สำหรับการนิรโทษกรรม มาตรา 112 รายงานดังกล่าวมีข้อสรุป แต่ไม่สรุป และระบุแนวทางเป็น 3 แนวทาง คือ ไม่นิรโทษกรรม ให้นิรโทษกรรม และ นิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข ทั้งนี้ความเห็นส่วนตัวมองในประเด็นดังกล่าวว่าสังคมมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ยังมีเวลาที่จะหาฉันทามติ ตนไม่เห็นด้วยกับการรวมมาตรา 110 และ มาตรา112

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยไม่มีทางยอมให้มีการนิรโทษกรรม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งนี้ไม่มีใครได้รับผลกระทบจากสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ปัจจุบันมีกลุ่มบุคคลปลูกฝังให้คนเห็นต่าง เห็นความไม่สำคัญต่อสถาบัน ซึ่งตนไม่เห็นด้วย หากรายงานฉบับนี้ ผ่านไปถึง ครม.​และต้องร่างกฎหมาย หากอ้างว่าเป็นมติของสภา ที่เห็นชอบรายงานศึกษา จะให้นิรโทษกรรม การกระทำล่วงละเมิดสถาบัน ทั้ง มาตรา 110 หรือ มาตรา 112 ตนยืนยันต่อประชาชนว่า คนของภูมิใจไทย ไม่เป็นมิตรและไม่ยินยอมกับการกระทำ ยืนยันเจตนารมณ์ว่า จะจงรักภักดีและปกป้องสถาบันให้ถึงที่สุด

ขณะที่นางนันทนา สงฆ์ประชา สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจ กล่าวว่า การนิรโทษกรรมคดีการเมืองที่ชัดเจน พรรคภูมิใจไทยพร้อมร่วมพิจารณา แต่จะไม่ร่วมพิจารณา มาตรา หรือรายงานฉบับนี้ทุกกรณีหากมีมาตรา 112
"เรามีจุดยืนไม่แตะต้องและปกป้องมาตรา 112 ด้วยชีวิต พรรคภูมิใจไทยไม่เห็นด้วยจะแตะต้องมาตรา 112 และจะไม่พิจารณาเด็ดขาดกับคนที่ทำผิดมาตรา 112 เพราะไม่ใช่ความผิดทางการเมือง"นางนันทนาอภิปราย
ต่อข่าวห้องประชุม

จากนั้นเวลา 16.30 น. หลังสมาชิกอภิปรายเสร็จสิ้น นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ลุกขึ้นทักท้วงว่า ในเมื่อสมาชิกยังมีความเห็นต่างอยู่มาก จึงควรให้กมธ.ได้ชี้แจงเนื้อหาในรายงานเพิ่มเติมด้วย และหากจะมีการลงมติก็ไม่มีปัญหา

แต่นายอัครเดช วงศ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) แย้งว่า กมธ.ใช้เวลาชี้แจงยาวกว่าสมาชิกแล้ว เมื่อประธานปิดการอภิปรายแล้วก็ควรลงมติเลย ไม่เช่นนั้นหากให้กมธ.อภิปราย อาจจะใช้เวลานานกว่าสมาชิกถึง 3 เท่า สภาจะเดินต่อไม่ได้ หากสมาชิกต้องการอภิปรายอีก ประธานก็ต้องอนุญาตด้วย

แต่นายพิเชษฐ์ ถามว่า จะให้ลงมติเลยหรือจะให้กมธ.ชี้แจงต่อ เพราะข้อมูลมีมากพอสมควรแล้ว แต่กมธ.อีกหลายคนยังต้องการขอชี้แจง ดังนั้น วันนี้คงไม่จบ ตนขอปิดประชุม

จากนั้นได้สั่งปิดประชุมในเวลา 16.48 น. แม้จะมีสมาชิกตะโกนทักท้วง แต่นายพิเชษฐ์ไม่สนใจและเดินลงจากบัลลังก์ทันที ทำให้ไม่สามารถจะพิจารณาญัตติคดีฉาวธุรกิจดิไอคอนที่ สส.จ่อจะเสนอเข้าสภาในวันนี้

ที่มา : MgrOnline