(ชมคลิป) สาวอุบลสะใภ้ญี่ปุ่น ผู้บุกเบิก “นวดไทยตำรับวัดโพธิ์” เปิดร้านชื่อ “บัวหลวง” ในญี่ปุ่นมานานกว่า 20 ปีแล้ว

เผยแพร่ : 16 ต.ค. 2567 04:56:53
X
• ผู้พูดชอบนวดเป็นส่วนตัว
• ผู้พูดได้เรียนรู้ศาสตร์การนวดมากมาย
• ผู้พูดใช้ความรู้การนวดเพื่อรักษาคนไข้
• ผู้พูดมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นผ่านการนวด

“ทำไมเราเกี่ยวกับนวดก็คือได้จากสุขภาพของเราพอไปนวดแล้วเรารู้สึกสบายก็อยากจะเอาจุดนี้มาถ่ายทอดให้กับคนอื่นเพราะว่าเป็นคนที่ชอบนวดมากเลย ก็ไปเรียนรู้ทุกศาสตร์ทุกสาขาหลาย ๆ อย่าง คือทุกวันนี้ก็ยังเรียนเพื่อมารักษาคนไข้ที่มาหาเรา”

บ้านอยู่เมืองอุบลฯ นั่นคือพื้นเพเดิมก่อนที่จะย้ายตาม “สามี” มาเป็นสะใภ้คนญี่ปุ่นเมื่อ 30 กว่าปีก่อน “คุณบานเย็น ทาเคดะ”หรือคุณหน่อย เล่าให้ฟังอีกว่า บ้านเดิมอยู่ที่ อ.พิบูลมังสาหาร แล้วจากนั้นก็ได้ย้ายตามคุณพ่อมาอยู่ที่กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ แต่ว่าพื้นเพจริง ๆ ก็คือเป็นคนอุบลฯ พอแต่งงานแล้วกับชาวญี่ปุ่นก็เลยได้ย้ายติดตามสามีมานับจากนั้น “ได้เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกก็มาในนามของ วีฯแต่งงานและก็มาอยู่ที่ญี่ปุ่น มาอยู่กับสามีมีลูกสาว1 คน และก็หลังจากนั้นได้มาทำงานหลายอย่างค่ะก็จะเป็น การตัดเย็บเสื้อผ้า ก็คือจะเอาผ้าไหมมาเย็บเองแล้วหลังจากนั้น ก็มาทำร้านอาหารค่ะ พอมาทำร้านอาหารก็รู้สึกว่าร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงเป็นผลเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุหกล้มแล้วก็ได้กลับไปเมืองไทยเพื่อไปรักษาตัวอยู่ที่เมืองไทย ก็ไปรักษาโดยการนวดคือไปนวดที่ “วัดโพธิ์”ค่ะพอไปเจอที่วัดโพธิ์แล้วก็รู้สึกว่า มันประทับใจ ว่าอ้อ! เราควรจะมาเรียนแล้วก็ไปนวดให้คนอื่นอะไรอย่างเงี้ย ก็เลยได้จุดประกายตรงนั้น” ก็กลับมาที่ญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อจะมามอบหมายให้เพื่อนที่ร่วมงานให้ดูแลร้านเพื่อเราจะได้ขึ้นไปเรียน “นวดไทย” ที่เรียกกันในสมัยก่อน ที่ วัดโพธิ์ ก็ไปเรียนที่วัดโพธิ์

จาก “แม่บ้าน” สามีไม่ให้ทำงานเลย! สู่เส้นทางนักธุรกิจเจ้าของร้านนวดไทย
ก็ด้วยความที่พี่น้องเราเยอะ เป็นลูกคนโตมีพี่น้องทั้งหมด8 คน(ผู้หญิง 7คน มีผู้ชาย 1 คนเป็นคนสุดท้อง) พ่อกับแม่ก็ลำบากเราก็เป็นลูกคนแรก(คนโต) ที่เราต้องจุนเจือครอบครัวก็เลยมาที่ญี่ปุ่น ตั้งใจว่าจะมาทำงานหาเงินเพื่อส่งเสียให้กับทางบ้านเราด้วย“แต่ว่าสามีไม่ให้ทำเนาะ สามีไม่ให้ทำในตอนนั้นสามีอาจจะมีตังค์ พอทำไปทำมาเขาเป็นคนล้มละลาย! พอล้มละลายเสร็จเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องช่วยเหลือตัวเราเอง พอช่วยเหลือตัวเราเองสามีไม่ให้ทำ พอไม่ให้ทำแล้วเขาบอก ถ้าเธอไปทำงานก็คือเลิกกัน! บอกก็ไม่เลิก ก็เลยอุ้มลูกจากเขตอิบารากิตอนนั้นอยู่ที่อิบารากิ ก็มาหาพี่สาวเขาอยู่ที่ไซตามะมาอยู่ไซตามะ อันแรกที่เริ่มเข้าทำงานก็คือ ไปทำงานที่ร้านอาหารไทย กลางคืนก็ไปทำงานที่ร้านดื่ม ซึ่งภาษาไม่รู้เรื่องแต่ไปทำได้ด้วยความเขาแนะนำค่ะ”ชีวิตผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะมาก เสร็จแล้วหลังจากนั้นมาก็เลยว่า อยากจะเปิดร้านอาหารไทยก็เริ่มเก็บเงิน แล้วตัวเองก็ชอบอาหารไทย ก็เลยไปเปิดร้านอาหารไทยอยู่ได้ 2 ปี แล้วก็ด้วยปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายของตัวเองที่ไม่ค่อยแข็งแรงพอเจอ “นวด” ก็เลยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

ก็ไปเรียนที่วัดโพธิ์ เรียนหลายอย่าง ก็จะมีนวดตัว นวดฝ่าเท้า และก็นวดคนท้อง นวดเด็ก ฯลฯ เราไปเรียนหลายสาขาหลายศาสตร์เลย แล้วก็กลับมาทำร้านอาหารต่อแต่ว่าร่างกายตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยแข็งแรง แล้วหลังจากนั้นมาก็ปิดร้าน (ธุรกิจที่เรารัก) เสร็จแล้วก็เข้ามาที่โตเกียว ครั้งแรกที่มาอยู่ที่โตเกียวซึ่งอยู่ในย่านใกล้ ๆ กับโตเกียวทาวเวอร์ ก็มาทำงานที่นั่นเพื่อจะเก็บเงินไว้เป็นทุนต่อไป “ตอนนั้นร้านนวดก็ยังไม่ค่อยเยอะ แต่คนหรือลูกค้าเนี่ยร้านนวดไทยจะเป็นอะไรที่คนญี่ปุ่นประทับใจมาก ดิฉันก็ได้ไปศึกษาอยู่ตรงนั้นอยู่ 1 ปี" หลังจากหนึ่งปีก็เหมือนว่าเราเก็บเงิน (ทุน) ได้แล้วเพราะว่าตอนนั้นคือทำงานหนักมาก ตั้งแต่เช้ายันเย็นเลย ก็เก็บเงินทุนได้จำนวนหนึ่งเลยใช้ทุนนั้นมาเปิดร้านอยู่ที่ทามากิ “ก่อนหน้าที่เราจะเปิดร้านเราก็ไปเดินหาร้านตรงนั้นตรงนี้ เราก็ได้ไปศึกษา(หมายถึงว่า เราไปเป็น Manager บ้าง ไปเป็นพนักงานนวดบ้าง) เพื่อเราจะมาทำร้านนวดตัวเองมันต้องศึกษาก่อน เพราะถ้าเราไม่ศึกษาก่อนมีแต่ “เงิน” เราจะมาเปิดร้าน ส่วนมากคนไทยจะไม่ค่อยศึกษาแต่ตัวดิฉันเองก็จะเข้าไปศึกษา” จะพูดเท้าความหน่อยคือจริง ๆ แล้วตัวเองเป็นคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ(เรียนมาน้อย) แต่ว่าเราก็มาศึกษาเอาหลังจากนั้น ก็มาศึกษาเกี่ยวกับคนญี่ปุ่นด้วย คนไทยด้วย พอเราเข้ามาอยู่ในวงการนวดแล้วมันก็ต้องรู้จักการใช้ “ภาษา” ซึ่งเรื่องภาษาตอนนั้นเราเองก็ยังไม่ค่อยเก่ง ก็เลยไปเรียนตามโคมินกังเรียนตามอำเภอ แล้วก็ไปเรียนเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการนวดเพราะว่ามาใหม่ ๆ เราก็ยังไม่เป็น


นวดไทยตามศาสตร์ของ “วัดโพธิ์” แก้อาการป่วยและคนปวดเมื่อย
การดูแลเทคแคร์คนไข้หรือว่าผู้ที่ถูกนวดที่เราจะนวด เราต้องสนใจนิดหนึ่งต้องถามหนึ่งชื่อ เขาเป็นโรคอะไร เราต้องเขียนเอาไว้ที่ร้านก็จะมีเขียนเอาไว้ตั้งแต่ วันเดือนปีของคุณ แล้วก็คุณเป็นโรคอะไร น้ำหนักเท่าไร สูงเท่าไร เป็นโรคนอนไม่หลับหรือเป็นโรคอะไร เราก็จะมาวิเคราะห์ตรงนั้น เราก็ค่อยศึกษาไปเรื่อย ๆ ศึกษาจากคนไข้ จากคนไข้ที่มาหาเรา“ส่วนมากลูกค้าที่มาหาเราเนี่ยตั้งแต่เปิดร้าน จนตั้งแต่อายุ 50-60 จน 70-80 หรือ 90 ก็มีค่ะ คือร้านนวดของเราเป็นกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้างมีอายุค่ะ มาตั้งแต่เด็กอายุ 15 ปีก็มี จนตอนนี้อายุ 30 กว่าก็มีค่ะ ก็แต่ละคนก็ร้านของเราก็จะอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยด้วย” ซึ่งสมัยก่อนตัวเองเป็นคนที่ชอบทำอาหารก็จะทำอาหารไทยเลี้ยงเขาด้วย จริง ๆ แล้วมานวดแค่ 10 นาที (ราคา 500 เยน) เราสามารถที่จะดึงลูกค้ามาเป็นลูกค้าประจำของร้านได้ ตั้งแต่วัยรุ่นที่เขาเงินเดือนน้อย ๆ จนเขาได้เป็น “ซาโจ้” เขาก็จะมาหาจนเขามีลูกมีครอบครัวแล้ว มาทักทายเหมือนว่ามาหาแม่อะไรประมาณนี้ ก็คือจะเป็นร้านครอบครัวร้านกันเองพอเขาเข้ามาอย่างเงี้ย เขาบอกว่าเหมือนกลับมาบ้านเลย

“ศาสตร์หลัก ๆ ของวัดโพธิ์ก็จะมี นวดลูกประคบ และก็นวดไทย แล้วก็ผสมออยล์ แล้วก็ผสมอโรมาลงไปก็คือจะใช้ “กลิ่นหอม”
ซึ่งเราทำเองน้ำหอมก็จะมาจากไพล ขมิ้น และก็ใบเตยค่ะ เพราะว่าใบเตยจะเป็นกลิ่นอ่อน ๆ แล้วก็มีเพิ่มขึ้นมาอีกก็จะมี ตอกเส้น และก็นวดไม้ไผ่ และก็นวดอมตรสค่ะ คนที่เส้นแข็ง ๆ เราก็จะใช้ไม้แคะไม้แงะออกมาค่ะ เราก็จะใช้แบบหลายอย่างศาสตร์เราหลายอย่างค่ะ”


คนญี่ปุ่นเรื่อง “เวลา” เขาจะจำกัด การมานวดต้องให้ลูกค้าคุ้มค่าที่สุด
ที่ร้านก็จะเปิดตั้งแต่ 11.00 น. ถึง 01.00 น. ซึ่งค่อนข้างที่จะยาวนานนิดหนึ่ง แต่ส่วนมากบางทีลูกค้าที่มีอายุหน่อยเขาอาจจะขอมาเร็วก็คือ ประมาณ 09.30 น. ก็เข้ามาได้“ก็จะใช้เวลานวดให้เขาประมาณ 100 นาทีถึง 2 ชั่วโมงอย่างเงี้ยค่ะ ส่วนมากลูกค้าเนี่ยใหม่ ๆ ก็คือเราจะมีให้ทดลอง 15 นาที ซึ่ง 15 นาทีสมัยเมื่อ20 ปีก่อน 15 นาทีก็จะคิดแค่ 500 เยน แต่ปัจจุบันนี้ 15 นาทีเราจะคิดอยู่ 1750 เยน ถ้า 30 นาทีเราก็จะเป็น 3900 เยน ก็คือจะสตาร์ทจากตรงนั้น” พอเขาได้จากตรงนั้นแค่ 30 นาทีก็เหมือนนวดแป๊บเดียว เขาก็จะเพิ่มมาเป็น 70 นาที (8000 เยน) ส่วนมากที่ร้านจะแนะนำเป็น 100 นาทีคือถ้าไปนวดที่เมืองไทยก็จะสตาร์ทอยู่ที่ 2 ชั่วโมง แต่ทีนี้เราย่นเวลานิดหนึ่งก็เพราะว่าคนญี่ปุ่นเขาจะใช้เวลาค่อนข้างให้เป็นประโยชน์ เพราะว่าเวลาของเขาก็จะน้อยด้วย เราก็เลยแนะนำเป็น100 นาที ซึ่งก็จะมีเป็น ลูกประคบให้ อาจจะใช้น้ำมัน(น้ำมันยาหม่อง) ที่เราทำขึ้นมาเองเพื่อผ่อนคลาย เราก็จะบริการลูกค้าในส่วนนี้ ก็มีทั้งตอกเส้นด้วย นวดไม้ไผ่ด้วย

ปัจจุบันร้านนวดไทยแข่งขันสูงมาก! แต่สิ่งที่ยังขาด คือ แรงงาน(ช่างฝีมือ)
การที่เราจะเปิด “ร้านนวด” อันดับแรกเลยก็คือ ทำเล ทำเลสำคัญมากแล้วก็ค่าเช่า คือทำเลกับค่าเช่านี้จะเป็นปัจจัยแรก และก็การใช้บริการหนึ่ง คนที่จะมาใช้บริการของเราอย่างน้อยเขาก็ไปร้านนวดมาทุกหนทุกแห่งแต่ว่า เขาจะมาหยุดอยู่ที่ร้านเราก็อยู่ที่ประทับใจประทับใจการนวดการผ่อนคลาย การเป็นกันเอง คนที่จะไปเปิดร้านนวดเราต้องมีปัจจัยตัวนี้ ก็คือการให้ เป็นผู้ให้ ให้ในที่นี้ ก็คือการให้รอยยิ้ม ให้น้ำใจ ไม่ใช่เขามานวด 30 นาทีเวลามันน้อย ก็คือเราพยายามคุยกับลูกค้าว่าเวลามันน้อยเราพยายามทำให้เขาดีที่สุด เพราะว่า 30 นาทีเวลามันน้อยก็จริง แต่ตอนนี้ก็ได้มีการมาฝึกเป็น 10 นาที เพราะว่าไปออกงานอีเว้นต์ 10 นาทีก็สามารถให้ประทับใจได้ “ก็คือเป็นการให้ อยู่ในเวลาก็จริงแต่ว่า แถมนิดแถมหน่อยก็ไม่เป็นไร ส่วนมากก็จะไม่ใช่แค่ 30 นาทีเนาะ นวดมันก็ต้องมีหลายกว่านั้นค่ะ ก็เพื่อให้เขาประทับใจ เขาก็อยากจะมาอีก”

การแข่งขันของร้านนวดไทยในญี่ปุ่น? คุณหน่อยเล่าว่า แต่ละเมืองที่เคยไปดูร้านของสมาชิก อย่างเช่น เขตโยโกฮามา
ก็จะมีแต่ละที่ 4-5 เจ้า เปิดเรียงกันแบบติด ๆ เลย แต่ละคนก็เปิดร้านเองอยู่แบบของใครของมัน “คือคนไทยเนี่ยก็เข้าใจอยู่
ต่างคนต่างทำอะไรเข้าใจอยู่ แต่เขตนั้นเขาจะอย่างสมมุติว่าลูกค้าเข้าร้านนี้เขาจะโทรหากัน เขาจะวิ่งหากันปิดร้านของตัวเองเอาไว้ วิ่งไปวิ่งมา อะไรอย่างเงี้ย อันนี้เป็นเรื่องดีเนาะแต่จริง ๆ แล้วคนไทยเราควรจะ น่าจะมารวมตัวกัน เมืองหนึ่ง ๆ มีสัก 
3 ร้านอะไรอย่างเงี้ย เราก็มารวมตัวกันดีกว่าเมืองหนึ่งเขตหนึ่งมี 10 ร้าน อย่างเงี้ย ทีนี้ลูกค้าก็จะวนไปวนมาอะไรอย่างเงี้ยค่ะ ถ้าใครสู้ค่าเช่าไม่ได้ก็มีการปิดไปหรือว่าให้คนอื่นมาเทคโอเวอร์ก็จะหมุนเวียนกันอย่างงี้ ขายกันไปขายกันมาอย่างงี้ ซึ่งในข้อนี้ก็มีคนโทรมาปรึกษาว่าจะต้องทำอย่างไร ก็มีเยอะ ก็คือเหมือนออกอีเว้นต์แต่ละคนมาก็มีโปรเข้ามาหรือไม่โปรก็เข้ามารวมกัน มารวมกันในที่นี้ก็คือว่าเราจะมาดูทักษะกัน อันไหนไม่ได้ที่ร้านก็จะมีการเรียนการสอนทุกเดือน เดือนละครั้ง ก็คือมาฝึกฝนกันแต่ส่วนมากคนไทยจะไม่เข้ามา จะเป็นคนญี่ปุ่นที่เข้ามามากกว่า”
มื่อ 3 ปีที่แล้วที่มีการแข่งขันในญี่ปุ่นและก็ทั่วโลก ซึ่งตัวคุณหน่อยเองก็ได้เป็นคณะกรรมการที่อยู่ในนั้นด้วย เป็นกรรมการมาทั้งหมด 3 ปีแล้ว ก็เลยมองเห็นตรงนั้นคนไทยน่าจะเอาการเรียนการสอนมาเพิ่มให้กันเยอะ ๆ ที่ร้านก็จะมีการสอนซึ่งส่วนมากเป็นคนญี่ปุ่นเข้ามาแต่ละคนเขาก็เพื่ออนาคตของเขา ก่อนที่จะไปเปิดร้าน คนไทยเองก่อนที่จะไปเปิดร้านต้องมาศึกษาก่อน ว่าควรจะทำยังไงต้องปรึกษากัน ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วก็ไปเปิด ไปเปิดแล้วก็ปิด เดี๋ยวก็เปิดเดี๋ยวก็ปิด อย่างงี้ก็คือไม่อยากให้มี ถ้าเปิดแล้วก็เปิดนาน ๆ อยากให้เป็นแบบนั้น

ในส่วนของคนทำธุรกิจ มันขาดแคลนก็คือ เรื่องพนักงาน เรื่องบุคลากร เมื่อ 10 ปีก่อนเราก็เคยเข้าไปคุยกับผู้ใหญ่ก็คือทางญี่ปุ่นเขาก็จะเก็บรักษา “วีซ่า” สำหรับตัวนี้เอาไว้ให้กับคนที่ด้อยโอกาสของเขา ก็คือกลุ่มคนตาบอดของคนญี่ปุ่น ซึ่งวีซ่าตัวนี้ไม่ใช่มันไม่ได้เลย ก็คือจะมีวีซ่าสำหรับบุคลากรที่เป็นอาจารย์(ช่างวิชาชีพเฉพาะ) วีซ่าออกให้ 3 เดือน มาเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดวิชาให้เรา แต่ส่วนมากอาจารย์ที่จะมาให้ความรู้ในระยะเวลา 3 เดือนก็จะมีค่าใช้จ่ายเยอะ เพราะญี่ปุ่นค่อนข้างจะค่าใช้จ่ายสูง ค่าที่พักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อหลายปีที่แล้วในกลุ่มก็เลยมีการนำอาจารย์เข้ามา วีซ่า 15 วัน ก็มาถ่ายทอดเกี่ยวกับความรู้ เราก็เก็บเกี่ยวเอาตรงนั้นมาเพื่อมาถ่ายทอดต่อในกลุ่มสมาชิก


กว่าจะมาถึงวันนี้ “20 กว่าร้านบัวหลวง”ร้านนวดไทยในญี่ปุ่น
คุณบานเย็น ทาเคดะ(คุณหน่อย) เจ้าของร้าน “บัวหลวง” ร้านนวดไทยตำรับวัดโพธิ์ในประเทศญี่ปุ่น ยังบอกด้วย ตั้งแต่ปี 2001
ปี 2000 เริ่มเข้าสู่วงการนี้ ก็เป็นพนักงาน จากพนักงานก็มาเป็นเจ้าของร้าน ก็ล้มลุกคลุกคลานมาทั้งร้องไห้ทั้งอะไร เพราะว่าค่าใช้จ่ายก็แพงบางทีก็ร้องให้อยู่ กว่าจะผ่านมาถึงจุดนี้ได้ก็ใช้เวลา 20 กว่าปี เจออุปสรรคเยอะหนึ่ง พนักงานเมื่อก่อนจะมีร้านอยู่ 2 สาขา 3 สาขา ก็คือบางทีส่งพนักงานไปซึ่งแขกรออยู่ พนักงานไม่ไปแต่หนีไปรับงานอื่นแทนก็มี ถามว่าวุ่นวายไหม ก็วุ่นวายตอนนั้นก็คิดมากเหมือนกันว่าจะไปรอดไหม บางทีการที่เรามาอยู่จุด ๆ นี้เงินทองที่เราหามามันเหนื่อยเกินไปไหม ก็เลยมาช่วงหลังจะตัดจำนวนนั้นออกก็คือมาอยู่ที่จุดเดียวพอ เน้นการให้ความรู้กับคนอื่นให้เยอะ มีการออกงานอีเว้นต์คือไปให้เขาชิมการนวดดูว่ามันเป็นแบบนี้นะ อะไรแบบนี้มากกว่า เราก็จะกระจายในลักษณะนี้จะออกเหนื่อยแบบนี้มากกว่า

“ต้องขอบคุณตัวเอง ต้องขอบคุณตัวเองเยอะ ๆ เพราะว่าหนึ่งทำไมถึงบอกขอบคุณตัวเอง เพราะว่าคนอื่นจะมาขอบคุณก็สู้เราขอบคุณตัวเองไม่ได้เพราะว่าชีวิตของเรา เราฝ่าฟันด้วยตัวเราแล้วเราก็สำเร็จด้วยตัวเรา ก็สำหรับตัวหน่อยเองก็คือเป็นคนที่สำเร็จเป็นผู้ที่สำเร็จเป็นคนที่เซโก้ที่สุดในธุรกิจเขาเรียกอะไร ในธุรกิจนวดหรือว่าธุรกิจไหน ๆ ก็แล้วแต่ สิ่งที่อยากจะให้มากที่สุดก็คือ ให้ใจ ให้ใจคนให้มากที่สุด เราจะต้องเป็นผู้ให้ ให้เยอะที่สุด เราต้องเป็นเศรษฐีให้เยอะที่สุด คำว่าเศรษฐีคือไม่ใช่ผู้เอา เป็นผู้ให้” ทุกเรื่องราวมันต้องผ่านองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ว่างานไหนก็แล้วแต่เราต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน คนรอบข้างไม่ว่าใครก็แล้วแต่ เราก็ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน เราถึงจะเป็นเราในทุกวันนี้

สาวอุบลสะใภ้ญี่ปุ่น ผู้บุกเบิก “นวดไทยตำรับวัดโพธิ์” เปิดร้านชื่อ “บัวหลวง” ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่า 20 ปีแล้ว ขอบคุณเรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจดี ๆ จาก คุณบานเย็น ทาเคดะ(คุณหน่อย) คนต้นเรื่องชีวิตใหม่ในต่างแดนครั้งนี้ที่กรุณามาร่วมแชร์ประสบการณ์ การบุกเบิกธุรกิจร้านนวดไทยในญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นใจ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ Soft power ศาสตร์การนวดตำรับวัดโพธิ์แท้ ๆ ของประเทศไทย ให้กับต่างชาติได้รู้จักและหลงใหลจนเกิดเป็นภาพของการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนไทยในต่างแดนโดยหนึ่งในนั้น “คุณหน่อย” คือตัวอย่างหนึ่งของคนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้เป็นอย่างสูงและน่าภาคภูมิใจ
คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด

ที่มา : MgrOnline